หนังสือพระราชนิพนธ์
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี



พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2525

กลับไปหน้าที่แล้ว

ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท


วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๔   ทรงวิจัยเรื่องบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท ทรงศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางความหมายของศัพท์ว่าบารมี ตามที่ปรากฎในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเถรวาทที่แต่งขึ้นในยุคต่างๆ    

มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์เผยแพร่เนื่องในโอกาสสมโภชเฉลิม ๒๐๐ ปี พระบรมราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์

เนื้อความบางส่วนจากวิทยานิพนธ์

“…ข้อความนี้ เป็นพระมติของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เกี่ยวกับบารมีโดยละเอียด พร้อมทั้งวิเคราะห์คำสอนและข้อแสดงธรรมะของเก่าด้วย มีพระดำริว่า บารมี ซึ่งพระโพธิสัตว์บำเพ็ญแล้วจะบรรลุพระโพธิญาณ น่าจะออกจากศัพท์ ปรมะ แปลว่า อย่างยิ่ง (ตรงกับพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่ได้กล่าวมาแล้ว)  ความหมายของศัพท์คงจะมุ่งว่าเป็นทางไปในทางที่ดีขึ้น ความหมายที่ชัดเจนคือ “เก็บดีเก็บถูก” น่าจะตรงกันข้ามกับคำว่า “อาสวะ” ซึ่งแปลว่าของหมัก ดอง มีความหมายว่า “การเก็บชั่วเก็บผิด” คนเขาเมื่อทำบุญและบาป จะได้ผลดีผลชั่วหมดไปเป็นคราวๆ ตามกฎแห่งกรรม แต่จะหลงเหลือ ความคุ้นเคยในทางดีและชั่ว อยู่ ชักนำให้เลือกทางดีหรือชั่วต่อไป เรียกว่า บารมี และอาสวะตามลำดับ…"